1)ทำความสะอาดรูหู โดยใช้สำลีพันปลายไม้ หรือพลาสติก เช็ดเบาๆด้วยความนุ่มนวล หรือใช้เครื่องดูดของเหลว (suction) ดูดหนอง และเนื้อเยื่อที่ตาย หรืออักเสบออก (aural toilet)
2)Oral ATB ~ 7-14 วัน ถ้าเป็น acute localized otitis externa มักเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus ให้ cloxacillin, dicloxacillin, cephalexin แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยา penicillin อาจเลือกใช้ยา clindamycin แทน, ถ้าเป็น acute diffuse otitis externa มักเกิดจากเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ให้ antipseudomonas quinolones เช่น ciprofloxacin, levofloxacin
3)ใช้ยาหยอดหูซึ่งมียาต้านจุลชีพ และ/ หรือยาสเตียรอยด์ หยอดวันละ 3-4 ครั้ง (ยกเว้นรายที่เป็น acute localized otitis externa ที่ไม่มีการแตกของฝี) ในทางปฏิบัติ แนะนำให้ใช้ยาต้านจุลชีพ ที่มีส่วนผสมของทั้ง polymyxin B และ neomycin ก่อน เนื่องจากคลุมเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในหูชั้นนอก ในรายที่แพ้ยา polymyxin B อาจให้ gentamicin ชนิดเดียวแทนได้ เมื่อไม่ได้ผลอาจพิจารณาใช้ chloramphenicol แทน
4)ถ้ารูหูส่วนนอกบวมมาก ไม่สามารถหยอดยาหยอดหูลงไปได้ ควรใช้ผ้าก๊อซเล็กๆ (ear wick) ชุบยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดบวม ใส่ไว้ในรูหูชั้นนอก~ 24 hr เมื่อรูหูส่วนนอกยุบลง และมีรูให้ยาหยอดหูผ่านเข้าไปได้ จึงเอา ear wick ออก
5)ถ้าปวดมาก ให้paracetamolด้วย
6)ในรายที่เป็นหูชั้นนอกอักเสบชนิดร้ายแรง (malignant otitis externa) ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยอายุมาก, ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการฉายรังสี หรือได้รับยาเคมีบำบัด, ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานๆ และมักมี cranial nerve palsy เชื้อที่มักเป็นสาเหตุคือ Pseudomonas aeruginosa แพทย์ควรผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยาต้านจุลชีพ antipseudomonals ทางหลอดเลือด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น