วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]Dog bite

Dog bite
rabiesเป็นเชื้อที่กระจายผ่านทางระบบประสาทและระบบน้ำเหลือง
ซึ่งการติดต่อเกิดได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า กัดหรือข่วน 
ซึ่งถ้าเจอผู้ป่วยหมากัดมาไม่จำเป็นต้องซักประวัติหมา แต่ให้ดูที่แผล
แบ่งชนิดของการสัมผัสเป็น 3 catagory คือ
catagory 1.น้ำลาย + skin intact 
             หลักการรักษาคือ การทำแผล
catagory 2. รอยข่วนแต่ไม่มีเลือด
             หลักการรักษาคือ การทำแผล+ฉีดวัคซีน
catagory 3. มีเลือดออก
             หลักการรักษาคือ การทำแผล+ฉีดวัคซีน+passive immunization
หลักการในการ management คือ
1.การล้างแผลผ่านน้ำสะอาดไหลและสบู่ 15 นาที
2.ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลนอกจากถูกกัดที่บริเวณใบหน้าเนื่องจากหน้าเป็นที่ที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเยอะติดเชื้อได้ยากกว่าและเพื่อ cosmetic 
3. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แบ่งเป็น
- active immunization คือ การฉีด vaccine มีหลายยี่ห้อการฉีด ขนาด ปริมาณไม่เหมือนกัน จะกระตุ้นให้เกิดภูมิสูงสุดในวันที่ 7
      หลักการฉีดแบ่งเป็น
      1.ไม่เคยฉีดครบdose(5เข็มตามWHO ถ้าในไทยเอา 3 เข็ม+หมาไม่ตาย) มาก่อนคือฉีดทั้งหมด 5 เข็มวันที่ 0,3,7,10,28 
       2.ห่างจากเข็มสุดท้ายภายใน 6 เดือน ให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
       3.ห่างจากเข็มสุดท้ายมากกว่า 6 เดือนแต่น้อยกว่า 30 ปี ให้กระตุ้น 2 เข็มวันที่0,3
- passive immunization คือ HRIG ทำมาจากคนให้ขนาด 20u/kg และ ERIG ทำมาจากม้า ให้ขนาด40u/kg โดยให้ฉีดรอบแผลให้มากที่สุดที่เหลือให้ฉีดim เข้ากล้ามเนื้อใหญ่ๆเช่นต้นขา
   จะกระตุ้นทำให้มีภูมิในวันแรกและจะลดลงในวันที่ 7
   *ในชีวิตหนึ่งฉีดครั้งเดียวในกรณี catagory 3 โดยไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน 
4.การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
: ถ้าเคยได้รับวัคซีนครบชุด (0.5 มล. IM of tetanus or tetanus/diphtheria toxoid จำนวน 3 ครั้ง วันที่ 0, 30 และเข็มที่ 3 ภายใน 1 ปี นับจากเข็มแรก) มาไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องให้ booster หรือ passive immunization เลย ถ้าเกิน 5 ปี ให้ booster 1 ครั้ง ไม่ต้องให้ passive immunization
: ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนครบชุด ให้ฉีด toxoid และให้ passive immunization ด้วย tetanus immunoglobulin 250-500 ยูนิต IM หรือ tetanus antitoxin 3000 ยูนิต IM เมื่อแผลนั้นดูรุนแรง ถ้าดูไม่รุนแรงให้แต่ toxoid อย่างเดียว
: ข้อห้ามของการให้ tetanus toxoid คือ การมีอาการแพ้รุนแรง หรืออาการทางระบบประสาทที่รุนแรง จากการฉีดครั้งก่อน
5.การให้ ATB ไม่จำเป็นในกรณีถูกสุนัขกัดและแผลไม่ใหญ่มากแต่ถ้าแมวกัดต้องให้ ถ้าต้องให้ก็ควรให้ATBคลุมเชื้อgramnegativeและanaerobeเชื้อที่commonคือ pasteurella multocidaให้เป็นamoxiclav หรือถ้าแพ้กลุ่มpenicillin ให้เป็นerythromycin+clindamycin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น