วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]Hyponatremia approach

Hyponatremiaคือ serum Na<135mEq/l
3 ปัญหาสำคัญ
1.acute severe hyponatremia อันตราย
2.hyponatremia ในผู้ที่มี underlying disease เพิ่มอัตราการเสียชีวิต
3.การแก้ไขที่เร็วไปใน chronic hyponatremia ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

A.Approachต้องแยกระหว่าง True กับ Pseudohyponatremia
โดยดูที่ plasma osmolarity 
1.True hyponatremia: Posm<280
2.Pseudohyponatremia:
2.1 Hyperosmotic hyponatremia เกิดจาก hyperglycemia Posm>280 
หากมี hyperglecemia จะทำให้ค่า Na ที่ตรวจหาต่ำกว่าค่าที่แท้จริง
การแก้ต้อง correct Na ก่อน แล้วค่อยแก้ไข
สูตร Correct Na=Na+((BS-100)/100)x1.6หรือ +1.6mEq/100mg glucose ที่เพิ่ม
2.2 Isoosmotic hyponatremia : hyperprotein, hypertriglyceride

B.True hyponatramiaแบ่ง 3 กลุ่ม ตาม extracellular fluid volume
1.Hypervolumic น้ำมากเกิด dilutional หรือ hypotonic condition
สาเหตุ: water retension CHF,liver cirrhosis, renal failure
การรักษา: Loop diuretic (จะขับน้ำมากกว่าเกลือ), จำกัดน้ำ
2.Euvolemic
สาเหตุ:SIADH, ectopic production ADH(small cell CA lung), primary polydipsia
การรักษา:จำกัดน้ำ ไม่ให้ supplement หากไม่ได้ผลค่อยเสริม NaCl +ให้ยาขับปัสสาวร่วมด้วย
3.Hypovolemic เสียน้ำ+เสียเกลือ
สาเหตุ:renal loss(Tubulointerstitial disease), GI loss(diarrhea), Excessing sweating(hot,heavy exercise)
การรักษา:replace iv fluid
กลุ่ม 2,3 หากแยกยาก ทดสอบโดย Fluid challenge test หรือ Restrict fluid แล้วติดตามระดับ Na
Clinical manifestation (เกิดจากcell swelling)
Muscle : muscle clamps, weakness and fatique
CNS dysfunction: Headache to confusion, Lethargy, seizures, and coma
GI tract: Anorexia, Nausea, Vomitting, Abdominal cramps, Diarrhea

การแก้ไข Hyponatremia
Na ที่ต้องการ = 0.6xBWx(plasmaNa-Naที่ต้องการแก้)
หรือ 60 kg : 3%Nss 3cc/hr เพิ่ม 1meq/day
เช่น plasma Na 110 แก้ให้เป็น 120 เป็นต้น ห้ามให้แก้เกิน 12 mEq/day เร็วไปไม่ดี

อีกสูตรใช้ ปริมาตรน้ำมาคำนวณด้วย
delta [Na] /liter of infusate = {[Na]infusate - [Na] serum} / (TBW+1) 
TBW = 0.6xIBW (x0.85 if female, x0.85 if elderly)
TBW = total body water, IBW = Ideal Body weight
หมายเหตุ
- if Na < 120 mEq/L อันตรายมีโอกาสเกิด brain stem herniation ต้องเพิ่มระดับ Na อย่างเร็ว 4-6 mEq/L ใน 1-2 ชั่วโมง
- ถ้าเกิดอาการ seizures, severe confusion, coma, brainstem herniation ต้องรีบให้ 3% NSS
- Chronic hyponatremia พบบ่อยกว่า acute การแก้ Na ต้องช้าๆrate
ให้น้อยกว่า 0.5 mEq/L/h or 12 mEq/L/d.ถ้าระดับ Na 120-125 mEq/L ไม่ควรแก้ไวเกิน 48 ชั่วโมง
- 3%Nacl rate = ใช้ BW(kg)= เป็น cc/ hr :ระดับ Na จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 mEq/hr goal 
Ex: wt 50 ให้ 50 cc/hr จะเพิ่ม Na=1mEq/l
แก้ไม่เกิน 130 mEq/hr ,Follow up Na q 6-12 hr depend on clinical

สรุปวิธีคิดคำนวณ

วิธีคิดในการคำนวณการแก้ Hyponatremia 2 แบบ นิยมใช้

วิธีแรก ใช้กันทั่วไป

Na deficit (mEq) = 0.6 x BW x delta[Na]

เช่น ชาย 60 kg อยากให้ 3%NaCl ให้ขึ้นจาก 110 --> 120 ในหนึ่งวัน
Na deficit = 0.6 x 60 x (120-110) = 360 mEq
3% NSS 1 L Na = 513 mEqมี 
เพราะฉะนั้นต้องให้ rate = ((360/513)*L)/วัน = ((360/513)*1000)/24 hr = 29 mL/hr

EX.คำนวณสรุปง่ายๆBW 60 kg
3% NSS rate 17 cc/h/day = 6 mEq/dayเพิ่มประมาณ
3% NSS rate 20 cc/h/day = เพิ่มประมาณ 7 mEq/day
3% NSS rate 30 cc/h/day = เพิ่มประมาณ 10 mEq/day
3% NSS rate 35 cc/h/day = เพิ่มประมาณ 12 mEq/day (1st day ไม่ควรเกินนิ้)

3%NSS 1684 cc/day = เพิ่ม 24 mEq/24 hr = 70 cc/h = cc/hr (70 cc = 1 mEq)นน.เป็น กก. ของคนไข้ หน่วยเป็น 

ระดับ Na 1 mEq/hจะเพิ่มขึ้นประมาณ 

ข้อดีคือ คิดง่ายเร็ว

ข้อเสียคือ เราไม่ได้นำปริมาตรของสารน้ำที่ใส่เข้าไปมาคำนวณด้วย ในการคำนวณการแก้ deficit ของเรา

อีกวิธีก็คือ เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วโลก (เขียนไว้ใน NEJM, PocketMed, Uptodate)

delta [Na] /liter of infusate = {[Na]infulsate - [Na] serum} / (TBW+1) ; TBW = 0.6xIBW (x0.85 if female, x0.85 if elderly)

TBW = total body water, IBW = Ideal Body weight
เช่น เหมือนเดิม 60 kg, 110-120 ใน 1 d by 3%NaCl
delta [Na] / L infusate = (513-110)/(0.6x60 +1) = 10.9 mEq/L ต่อ Liter infusate
แปลว่า
หากให้ 1 L ของ 3% NaCl จะทำให้ Na เพิ่มขึ้น 10.9 mEq/L
ถ้าจะให้เพิ่ม 10 mEq/L ต้องให้ 3% NaCl = 917 mL
คิดเป็น rate = 917/24 hr = 38 mL/hr

วิธีนี้ก็จะใช้ปริมาตรของสารน้ำที่ใส่เข้าไปลงไปด้วย

สองวิธีนี้จะไม่แตกต่างกันมากหาก fluid ที่เลือกเป็นพวกที่ความเข้มข้นน้อยๆ หรือน้ำหนักตัวมากๆ
แต่สำหรับคนไทย น้ำหนักตัวน้อย หากให้ 3% ก็ใช้แบบหลังคงดีกว่า

ส่วนการแก้ในช่วง แรกๆ ใน severe symptomatic hypoNa ละก็ ให้ได้ถึง 1.5-2mEq/L/Hr สัก 3-4 ชม แรก แล้วเจาะดูซ้ำ
โดยไม่ให้เกิน 10-12 mEq /L/day (แม้ว่าจะมีรายงานว่า 8 ก็เกิด ODS ได้แล้ว)

ส่วนใน SIADH ก็จะวุ่นวายหน่อย ตรงที่จะต้องมานั่งคำนวนถึงความสามารถของไตในการขับน้ำอีกซึ่งจำเป็นต้องวัด Urine Osm และ Serum Osm ในการคำนวนด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[Med]DLP management

แนวทางการรักษา hypertriglyceraldemia
Hight TG level 200-499
Very high TG level >500
Tx : Diet and life style control + drug
ยาที่นิยม : gemfibrosil (lopid) 300mg ขนาดที่ให้คือ 600-1,200mg/day 
เช่น lopid(300)1*2 po pc , lopid(300)2*2 po pc

แนวทางรักษา hypercholesteralemia 
ปรับยาเพื่อลดLDL level ให้ได้ตามgoal
Major atherosclerotic risk    LDLgoal   Drug+diet tx
            0-1                              <160           >190
 >2+ no athero event              <130           >160
      Athero event                     <100           >130
       >2+ event                         <70             >100

ยาที่นิยม simvastatin (Zocor)10,20 mg ขนาดที่ใช้คือ 10-80mg/day เช่น simvastatin(10) 1*1 po hs

หมายเหตุ : 
1 ตรวจf/u อย่างน้อยปีละครั้ง อาจ ทุก3เดือนปรับขนาดยาเพิ่ม ถ้ายังคุมไม่ได้
2 lab เจาะเฉพาะตัวที่ตั้งการติดตาม เช่น serum LDL

Major atherosclerotic risk ประกอบด้วย
DM
2 HT
3 smoking
4 BMI >25
5 physical inactivity 
6 microalbuminuria or CKD
7 age >55 in male , age >65 in female 
8 Hx of premature CVD

Atherosclerotic event ได้แก่
1 IHD
2 CVA 
3 peripheral artery disease 
4 carotid artery disease 
5 aortic aneurysm 
6 renal artery stenosis 

การคำนวนระดับ LDL มักจะใช้สมการของ Friedewald คือ
[LDL-chol] = [Total chol] - [HDL-chol] - ([TG]/5))

แต่มีข้อจำกัดคือการที่มี TG> 400 mg/ml, ในกรณีที่มีไคโลไมครอนสูง, มีความผิดปกติของเบตาไลโปโปรตีนในเลือด

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]Aspirin primary prevention

Aspirin 75-162 mg / day
primary prevention in 10%CHD risk > 10 % ดังนี้
1 DM in male age > 50 yrs w/ 1 risk (smoking, HT, DLP, FH of CVD, Albuminuria)
2 DM in female age > 60 yrs w/ 1 risk (smoking, HT, DLP, FH of CVD, Albuminuria)

Clopidogrel 75 mg/day
ใช้เมื่อมีข้อห้ามในการใช้ ASA

การใช้ร่วมกันได้ผลดี แต่ค่าใช้จ่ายแพง
ควรให้ร่วมกันใน secondary prevention

ASA ช่วยลด coronary heart disease 31%
(myocardial infarction, cardiac arrest, การเสียชีวิตจาก chronic coronary heart disease)

ผู้ป่วยที่ทำ PCI w/ stent placement ควรให้ ASA325 mg
ผู้ป่วยที่ทำ CABG ควรให้ ASA ภายใน 48 hr

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]Dog bite

Dog bite
rabiesเป็นเชื้อที่กระจายผ่านทางระบบประสาทและระบบน้ำเหลือง
ซึ่งการติดต่อเกิดได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า กัดหรือข่วน 
ซึ่งถ้าเจอผู้ป่วยหมากัดมาไม่จำเป็นต้องซักประวัติหมา แต่ให้ดูที่แผล
แบ่งชนิดของการสัมผัสเป็น 3 catagory คือ
catagory 1.น้ำลาย + skin intact 
             หลักการรักษาคือ การทำแผล
catagory 2. รอยข่วนแต่ไม่มีเลือด
             หลักการรักษาคือ การทำแผล+ฉีดวัคซีน
catagory 3. มีเลือดออก
             หลักการรักษาคือ การทำแผล+ฉีดวัคซีน+passive immunization
หลักการในการ management คือ
1.การล้างแผลผ่านน้ำสะอาดไหลและสบู่ 15 นาที
2.ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลนอกจากถูกกัดที่บริเวณใบหน้าเนื่องจากหน้าเป็นที่ที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเยอะติดเชื้อได้ยากกว่าและเพื่อ cosmetic 
3. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แบ่งเป็น
- active immunization คือ การฉีด vaccine มีหลายยี่ห้อการฉีด ขนาด ปริมาณไม่เหมือนกัน จะกระตุ้นให้เกิดภูมิสูงสุดในวันที่ 7
      หลักการฉีดแบ่งเป็น
      1.ไม่เคยฉีดครบdose(5เข็มตามWHO ถ้าในไทยเอา 3 เข็ม+หมาไม่ตาย) มาก่อนคือฉีดทั้งหมด 5 เข็มวันที่ 0,3,7,10,28 
       2.ห่างจากเข็มสุดท้ายภายใน 6 เดือน ให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
       3.ห่างจากเข็มสุดท้ายมากกว่า 6 เดือนแต่น้อยกว่า 30 ปี ให้กระตุ้น 2 เข็มวันที่0,3
- passive immunization คือ HRIG ทำมาจากคนให้ขนาด 20u/kg และ ERIG ทำมาจากม้า ให้ขนาด40u/kg โดยให้ฉีดรอบแผลให้มากที่สุดที่เหลือให้ฉีดim เข้ากล้ามเนื้อใหญ่ๆเช่นต้นขา
   จะกระตุ้นทำให้มีภูมิในวันแรกและจะลดลงในวันที่ 7
   *ในชีวิตหนึ่งฉีดครั้งเดียวในกรณี catagory 3 โดยไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน 
4.การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
: ถ้าเคยได้รับวัคซีนครบชุด (0.5 มล. IM of tetanus or tetanus/diphtheria toxoid จำนวน 3 ครั้ง วันที่ 0, 30 และเข็มที่ 3 ภายใน 1 ปี นับจากเข็มแรก) มาไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องให้ booster หรือ passive immunization เลย ถ้าเกิน 5 ปี ให้ booster 1 ครั้ง ไม่ต้องให้ passive immunization
: ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนครบชุด ให้ฉีด toxoid และให้ passive immunization ด้วย tetanus immunoglobulin 250-500 ยูนิต IM หรือ tetanus antitoxin 3000 ยูนิต IM เมื่อแผลนั้นดูรุนแรง ถ้าดูไม่รุนแรงให้แต่ toxoid อย่างเดียว
: ข้อห้ามของการให้ tetanus toxoid คือ การมีอาการแพ้รุนแรง หรืออาการทางระบบประสาทที่รุนแรง จากการฉีดครั้งก่อน
5.การให้ ATB ไม่จำเป็นในกรณีถูกสุนัขกัดและแผลไม่ใหญ่มากแต่ถ้าแมวกัดต้องให้ ถ้าต้องให้ก็ควรให้ATBคลุมเชื้อgramnegativeและanaerobeเชื้อที่commonคือ pasteurella multocidaให้เป็นamoxiclav หรือถ้าแพ้กลุ่มpenicillin ให้เป็นerythromycin+clindamycin

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]Bell's palsy


Bell's palsy
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อเริม(HSV1) ของ
CN 
7 facial nerve ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้ไม่ทำงานชั่วคราว ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกด้านนั้นเป็นอัมพาต

ภาพ A หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด UMN , ภาพ B หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด LMN                             
ภาพกายวิภาคของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เส้นประสาทจะออกจากก้านสมองส่วน pons แล้วออกไปทางด้านข้าง เดินทางคู่ไปกับเส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 ผ่านกระโหลกศีรษะไปออกที่หน้าต่อใบหู เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 นี้นอกจากควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าแล้ว ยังมีอีกหน้าที่อื่นเช่นการรับรสที่ลิ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กๆในหูชั้นกลาง และยังไปเลื้ยงต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตาด้วย

DDX of Bell's palsy
meningitis
งูสวัด(HZV)
HIV
ไลม์(Lyme)
ซิฟิลิสเรื้อรัง(syphilitic gumma)
sarcoidosis
โรคเรื้อน(leprosy)
การกดทับจากเนื้องอกหรือการอักเสบติดเชื้อของparotic gland  หรือ จากต่อมน้ำเหลือง
trauma
Guillain Barre syndrome
และที่สำคัญคือเส้นประสาทที่ 7 ขาดเลือดที่พบในเบาหวาน

การวินิจฉัย โดยการตรวจอาการทางคลินิกส่วนมากมักจะเพียงพอ ยกเว้นในรายที่ต้องการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่นๆดังกล่าวข้างต้น จึงจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ หรือสงสัยโรคเบาหวาน

อาการจะหายหรือไม่ การผ่าตัดในสมัยก่อนเรียก microvascular decompression ประมาณ 80-90% จะหายเป็นปกติ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความผิดปกติหลงเหลืออยู่บ้าง หรือเกิดเส้นประสาทต่อกันผิด (synkinesis) จะทำให้มีอาการ เช่น ทานอาหารแล้วน้ำตาไหล หรือ หลับตาแล้วมุมปากขยับ  ยิ้มแล้วตากลับปิดลง เคี้ยวแล้วกลับมีน้ำตาไหล
โอกาสเป็นซ้ำน้อยมาก แต่มีรายงานพบประมาณ 7 - 15 %

การรักษา 
specific tx : valacyclovir ร่วมกับสเตียรอยด์ ให้ผลดีกว่าไม่ได้ยา 
การใช้สเตียรอยด์ภายในสามวันแรกพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีกว่ายาหลอก 
ยา acyclovir ไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา

supportice tx : การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยหลับตาไม่สนิทจึงมักมีตาแดง และอาจนำไปสู่กระจกตาอักเสบได้ ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยให้
    ใช้น้ำตาเทียมเพื่อป้องกันตาแห้ง
    ใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอน หรือที่ครอบตาป้องกันฝุ่นเข้าตาเวลานอนหลับ
    สวมแว่นกันลมเวลาออกนอกบ้าน
    อย่าขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท
    การทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงให้ได้ทำงาน เพื่อรอการฟื้นตัว


วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[viral croup]



อาการและอาการแสดง/คะแนน
0
1
2
ไอ
ไม่มี
ร้องเสียงแหบ
ไอเสียงก้อง
เสียง stridor
ไม่มี
มีขณะหายใจเข้า
ขณะหายใจเข้าและหายใจออก
Chest retraction & nasal flaring
ไม่มี
มี nasal flaring & suprasternal retraction
เหมือน 1 ร่วมกับ subcostal & intercostal retraction
เขียว
ไม่มี
เขียวในอากาศธรรมดา
เขียวในออกซิเจน 40%
เสียงหายใจเข้า
ปกติ
hash with rhonchi
ช้าและเข้ายาก



treatment
ขึ้นกับระดับความรุนแรงของภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน
1. Mild croup score<4
: สามารถให้การรักษาตามอาการที่บ้านได้โดยการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง 
: dexamethasone 0.15 mg/kgหรือ prednisolone 1 mg/kg oral OD ช่วยลดอัตราการกลับเข้ามารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินได้
2. Moderate Croup score4-7
: nebulized epinephrine (1:1,000) 0.5 ml/kg (age < 4 Max 2.5 ml age >=4 Max 5 ml)
: dexamethasone ขนาด 0.15, 0.3 หรือ 0.6 mg/kg. oral/im
: nebulized budesonide ในขนาด 2 มก.
: เฝ้าสังเกตอาการต่อประมาณ 4 ชม. โดยการเฝ้าติดตามอาการแสดงทางคลินิกและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (Oxygen saturation) จากเครื่อง pulse oximeter หรือประเมินด้วย croup score ก่อนและหลังให้การรักษา
ถ้าอาการดีขึ้นชัดเจน ให้กลับบ้านได้ โดยให้การรักษาตามอาการและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
ถ้าอาการดีขึ้นบ้าง ให้เฝ้าสังเกตอาการต่อที่ห้องฉุกเฉิน พิจารณาพ่น nebulized epinephrine ซ้ำ หากอาการหอบยังไม่ดีขึ้นให้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยดีขึ้น และ/หรือญาติปฏิเสธที่จะนอนรักษาในโรงพยาบาลควรให้ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองและนัดติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอก
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล พร้อมทบทวนการวินิจฉัยโรค ให้ใช้ nebulized epinephrine (1:1,000) ขนาด 0.5 ml/kg.ซ้ำ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ
3. Severe Croup score>7
ควรรีบให้การรักษาโดยการให้ออกซิเจน ไม่รบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ให้ nebulized epinephrine (1:1,000)  0.5 ml/kg. และให้ dexamethasone ขนาด 0.6 mg/kg IM และพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจถ้าอาการไม่ดีขึ้น

ข้อบ่งชี้ในการรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
1.      มีประวัติเคยเกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนอย่างรุนแรง
2.      มีประวัติเคยเป็น croup ชนิดรุนแรง หรือมีทางเดินหายใจผิดปกติแต่กำเนิด
3.      อายุน้อยกว่า 6 เดือน
4.      มีภาวะหายใจลำบากชัดเจน หรือหายใจมีเสียง stridor ขณะพัก
5.      มีภาวะขาดน้ำชัดเจน
6.      ผู้ปกครองมีความกังวลใจ
7.      ระยะทางระหว่างบ้านกับโรงพยาบาลไกลเกินไปหรือมีปัญหาในการเดินทางกลับมาโรงพยาบาลถ้าผู้ป่วยมีอาการเลวลง
8.      ผู้ป่วยต้องกลับมาตรวจที่ห้องฉุกเฉินอีกครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
9.      การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี
10.    การวินิจฉัยโรคยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[med]การเตรียมน้ำเกลือ

สูตร
ปริมาตรที่ต้องการ x %ที่ต้องการ = (50 x Y) + (ปริมาตรที่ใช้ - Y) x %น้ำเกลือที่ใช้
Y = ปริมาณ 50%Glucose ที่ต้องใช้
50 = ความเข้มข้นของ Glucose ที่ใช้

ตัวอย่าง 1-- ต้องการ 20%D-N/2 # 1,000 ml
กรณีนี้เราจะเตรียมจาก 10%D-N/2 # 1,000 ml
1,000 x 20 = (50 x Y) + (1,000-Y) x 10
20,000 = 50Y +(10,000-10Y)
20,000 = 40Y + 10,000
10,000 = 40Y
Y = 10,000/40 = 250 ml
เพราะฉะนั้นต้องใช้ 50%Glucose # 250 ml ใส่ใน 10%D-N/2 # 750 ml (ดูดน้ำเกลือออก 250 ml ก่อนเติม Glucose)

* Conc. อื่นๆ เช่น
15%D-N/2 : ใช้ Glucose # 125 ml + 10%D-N/2 # 875 ml
20%D-N/2 : ใช้ Glucose # 250 ml + 10%D-N/2 # 750 ml

25%D-N/2 : ใช้ Glucose # 500 ml + NSS # 500 ml
30%D-N/2 : ใช้ Glucose # 500 ml + D-10-S # 500 ml

D-15-W : ใช้ Glucose # 125 ml + D-10-W # 875 ml
D-20-W : ใช้ Glucose # 250 ml + D-10-W # 750 ml
D-25-W : ใช้ Glucose # 375 ml + D-10-W # 625 ml
D-30-W : ใช้ Glucose # 500 ml + D-10-W # 500 ml
ข้อควรระวัง คือ ต้องระวัง Conc. ของเกลือที่เปลี่ยนแปลงด้วย เพราะเราต้องดูดน้ำเกลือออกก่อนเติม Glucose เพราะฉะนั้นสูตรนี้จึงไม่สามารถใช้ได้ทุกครั้ง 

ตัวอย่าง 2 --ต้องการ 2.5%D-N/5
กรณีนี้จะใช้สูตรด้านบนไม่ได้ ต้อง dilute จากน้ำเกลือที่ใกล้เคียงที่สุด

หลักการคือ :
N/5 มี NaCl = 0.18 g/100 ml และ N/3 มี NaCl = 0.3 g/100 ml

เพราะฉะนั้น ให้ dilute น้ำเกลือ N/3 1 เท่าจะได้ NaCl 0.15 g/100 ml
ส่วน dextrose ใน N/3 = 5% ถ้า dilute 1 เท่าจะได้ 2.5%

= SWI # 500 ml + 5%D-N/5 # 500 ml จะได้ 2.5 %D-N/5 # 1,000 ml
วิธีเตรียม
ใช้ SWI ขนาด 1,000 ml ดูดออก 500 ml แล้วเติม 5%D-N/5 # 500 ml ลงให้ครบ 1,000 ml